เมนู

เป็นผู้รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้ จะสามารถละธรรมอย่างหนึ่งนั้น แล้วบรรลุตติยภูมิได้แน่นอน ทั้ง
จะเกิดความอุตสาหะว่า พระธรรมสามีตรัสเป็นครั้งแรกว่า เราเป็นผู้รับรอง
ดังนี้ เพราะอย่างนั้น จักสำคัญถึงข้อที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ ฉะนั้น. เพื่อให้
ภิกษุทั้งหลายเกิดความอุตสาหะ จึงทรงตั้งพระองค์ไว้ในความเป็นผู้รับรอง
ภิกษุเหล่านั้น เพื่อความเป็นพระอนาคามี.

ว่าด้วยปุจฉา 5


บทว่า กตมํ ในบทว่า กตมํ เกธมฺมํ นี้ เป็นคำถาม. ก็ธรรมดา
คำถามมีอยู่ 5 อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา 1 ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา 1
วิมติเฉทนาปุจฉา 1 อนุมติปุจฉา 1 กเถตุกัมยตาปุจฉา 1.

ในคำถามเหล่านั้น ตามปกติคนเรายังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พิจารณา
ไม่ไตร่ตรอง. ไม่เข้าใจ ไม่แจ้ง ไม่ชัดถึงลักษณะ จึงถามปัญหา เพื่อรู้
เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อเข้าใจ เพื่อแจ้งชัดถึงลักษณะนั้น
นี้ชื่ออทิฎฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อความสว่างในสิ่งที่ตนไม่เห็น). ตามปกติ
คนรู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว เข้าใจแล้ว แจ้งชัดแล้ว
ซึ่งลักษณะ เขาถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ชื่อ ทิฏฐ-
สังสันทนาปุจฉา
(ถามเพื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่เห็นแล้ว. ตามปกติคนเป็นผู้ตก
อยู่ในความสงสัย ในความไม่รู้ ในความเคลือบแคลงว่า อย่างนี้หรือหนอ
ไม่ใช่หรือหนอ เป็นอะไรหนอ เป็นอย่างไรหนอ ดังนี้ เขาจึงถามปัญหา
เพื่อขจัดความสงสัย นี้ชื่อ วิมติเฉทนาปุจฺฉา (ถามเพื่อขจัดความสงสัย).
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหา เพื่อคล้อยตามความเห็น
ด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฺฉา (ถามเพื่อคล้อยตาม). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ปัญหา เพราะมีพระประสงค์เพื่อจะตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า จตฺตาโรเม
ภิกฺขเว อาหารา ภูตานํ วา สตฺตานํ ฐิติยา สมฺภเวสีนํ วา
อนุคฺคหาย กตเม จตฺตาโร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร 4 เหล่านั้นย่อม
เป็นไปเพื่อดำรงชีวิตของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์
จำพวกสัมภเวสี (ผู้แสวงหาที่เกิด) อาหาร 4 คืออะไรบ้าง นี้ชื่อกเถตุกัม-
ยตาปุจฉา
(ถามเพื่อประสงค์จะบอก).
ในคำถามอย่างเหล่านั้น คำถาม 3 ข้อข้างต้น มิได้มีแก่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มี. ตอบว่า เพราะว่า ในทางทั้ง 3
สังขตธรรมไรๆ หรืออสังขตธรรม (นิพพาน) พ้นจากทางไปแล้ว ที่จะไม่เห็น
ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่เข้าใจ ไม่แจ้งชัด มิได้มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น คำถามเพื่อความสว่างในสิ่งที่ไม่เห็น จึงไม่มีแก่พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. การเทียบเคียงกับสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร
พรหมอื่น แห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
แทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของตน ๆ มิได้มี ด้วยเหตุนั้น แม้คำถามเพื่อ
เทียบเคียงในสิ่งที่เห็นแล้ว จึงมิได้มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. ก็เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะทั้งหลาย ไม่มีความเคลือบแคลง. ข้ามพ้น
วิจิกิจฉา ปราศจากความสงสัยในธรรมทั้งปวง ฉะนั้น แม้คำถามเพื่อขจัดความ
สงสัย จึงมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ส่วนคำถามอีก 2 ข้อนั้นมีอยู่. ใน
คำถาม 2 ข้อนั้น พึงทราบว่า คำถามนี้หมายถึง กเถตุกัมยตาปุจฉา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์ตรัสถาม
ด้วยคำถามนั้นโดยสรุป จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า โลภํ ภิกฺขเว เอกธมฺมํ
ดังนี้ .

ในบทว่า โลภํ นั้นจึงทรงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โลภ
ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องอยากได้ หรืออยากได้เอง หรือเพียงอยากได้เท่านั้น.
ความโลภนั้นพึงเห็นว่า มีลักษณะยึดอารมณ์ ดุจลิงติดตัง มีการเกาะเกี่ยว
อารมณ์เป็นกิจดุจชิ้นเนื้อเขาใส่ลงในกะทะร้อน มีการไม่บริจาคเป็นผลดุจ
สีแห่งน้ำมันแสะยาหยอดตา มีทัศนะในการยินดี ในธรรมอันเป็นเครื่องผูกมัด
เป็นที่ยึดถือเป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น เจริญผุดขึ้นเสมอโดยเป็นแม่น้ำ คือตัณหา
พัดพาสัตว์ไปสู่อบาย ดุจแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว พัดพาสัตว์ไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น.
โลภศัพท์นี้เป็นคำสามัญที่ว่าด้วยความโลภทั้งปวงก็จริง แต่ในที่นี้พึงทราบว่า
เป็นคำที่ว่าด้วยความกำหนัดในกาม เพราะความโลภนั้นถูกอนาคามิมรรคฆ่า.
บทว่า ปฺน ภิกฺขเว นี้เป็นคำร้องเรียกเพื่อให้ภิกษุผู้หันหน้ารับธรรม
เกิดความเอาใจใส่ในธรรมนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวางหลักการบรรลุปหานด้วยบทว่า ปชหถ นี้.
อนึ่ง การบรรลุปหานนั้นย่อมเป็นไปกับด้วยการบรรลุ ปริญญา สัจฉิกิริยาและ
ภาวนาด้วย ไม่แยกกันเลย. เป็นอันว่าท่านจัดกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ 4 อย่างลง
ในอริยสัจ 4 นั่นเอง. อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอละโลภะ
ดังนี้ เป็นอันตรัสถึงการละแม้โทสะเป็นต้นด้วย เพราะมีความเป็นอันเดียว
กับปหาน โดยเนื้อความฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการบรรลุปหาน
อันเป็นกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ อันเป็นลักษณะแห่งสมุทยสัจ ก็ฉันนั้น เป็นอัน
พระองค์ตรัสถึงลักษณะและกิจของสมุทยสัจ แม้แห่งองค์มรรคที่เหลือ มีสัมมา-
สังกัปปะเป็นต้น อันเป็นเหตุทำร่วมกันแห่ง สัมมาทิฏฐิ นั้นนั่นเอง เพราะ
เหตุนั้น. พึงเห็นว่า ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความขวนขวายในอริย-
มรรคที่ครบถ้วนแล้ว. ความที่ท่านกล่าวถึงความขวนขวายโพธิปักขิยธรรมมี
สติปัฏฐานเป็นต้นไว้ในที่นี้ย่อมมีโดยนัยนี้. พึงให้พิสดารตามสมควร.

อีกอย่างหนึ่งในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงปหานปริญญา(การกำหนดรู้ด้วย-
การละ) ด้วยบทว่า ปชหถนี้. เป็นอันท่านตรัสรู้ ปริญญา แม้ทั้ง 3 โดย
ความเป็นอธิษฐาน คือ ปหานปริญญานั้น มีตีรณปริญญาเป็นอธิษฐาน และ
ตีรณปริญญา มีญาตปริญญาเป็นอธิษฐาน. ในที่นี้พึงเห็นอย่างนี้ว่า ท่าน
ประกาศกระทำจตุสัจจกรรมฐาน ให้บริบูรณ์พร้อมด้วยผล อีกอย่างหนึ่ง
ท่านแสดง ญานทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญานทัสสนะ)พร้อมด้วยผล.
ก็ญาณทัสสนวิสุทธินั้น มีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ-
เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) เป็นที่อาศัย ฯลฯ จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่ง
จิต) มีสีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) เป็นที่อาศัย เพราะเหตุนั้น พึงทราบ
ว่า ท่านแสดงวิสุทธิ 7 แม้ทั้งหมดพร้อมด้วยผล โดยความที่มีลำดับต่าง ๆ
กัน. อันผู้ประสงค์จะละความโลภ ด้วยการบำเพ็ญปริญญา 3 เพื่อความ
บริสุทธิ์นี้ พึงพิจารณาถึงโทษของความโลภ แล้วปฏิบัติเพื่อละความโลภนั้น
โดยนัยต่าง ๆ ตามแบบบทพระสูตรมีอาทิอย่างนี้ว่า
ความโลภให้เกิดความพินาศ ความ
โลภยังจิตให้กำเริบ ภัยเกิดแต่ภายใน ชน
ย่อมไม่รู้ถึงภัยนั้น คนโลภ ย่อมไม่รู้จัก
อรรถ คนโลภ ย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภ ย่อมครอบงำคน ผู้บอดมืด
ตลอดกาล.

คนที่ถูกราคะย้อมครอบงำ มีจิตยึดถือแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลัก-
ทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ปล้นสะดมบ้าง ทำคนอยู่เรือนหลังเดียวบ้าง
ตกอยู่ในอันตรายบ้าง ล่วงเกินภรรยาคนอื่นบ้าง พูดปดบ้าง ตัณหานั้นเมื่อ

สมณพราหมณ์ผู้เจริญ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ ตกอยู่ในตัณหา ก็ทำให้
สะดุ้งหวั่นไว้ได้เหมือนกัน
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไป
ตลอดเวลายาวนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารอัน
มีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่าง
อื่นไปได้ ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษ
เสมอด้วยโทสะไม่มี
เราถูกกามราคะเผา จิตของเราถูก
เผาด้วย ผู้ที่ถูกราคะย้อมย่อมตกไปสู่กระ
แสตัณหา เหมือนแมงมุมตกไปสู่ตาข่ายที่
คนทำเองฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย 6 ประการย่อมเป็นไปเพื่อละ
กามราคะได้ คือ การถือเอาอสุภนิมิต 1 การบำเพ็ญอสุภภาวนา 1
การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 การรู้จักประมาณในการ
บริโภค 1 การคบมิตรดี 1 การสนทนาเป็นที่สบาย 1.
จริงอยู่แม้เมื่อ
ถือเอาอสุภนิมิต 10 อย่าง ก็ละกามราคะได้ แม้เมื่อขวนขวายบำเพ็ญ
อสุภภาวนาในอสุภะ ที่มีวิญญาณด้วยการเจริญกายคตาสติ ในอสุภะที่ไร้
วิญญาณด้วยพิจารณาศพที่ขึ้นนพองเป็นต้น ก็ละกามราคะได้ แม้ปิดทวารด้วย
ประตู คือ สติ โดยสำรวมในอินทรีย์มีใจเป็นที่ 6 ก็ละกามราคะได้ แม้เมื่อ
มีโอกาสกลืนคำข้าว 4-5 คำจึงดื่มน้ำ แล้วรู้ประมาณในโภชนะเพียงเพื่อให้
ชีวิตเป็นไปตามปกติ ก็ละกามราคะได้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บริโภคคำข้าว 4-5 คำ แล้วพึงดื่ม
น้ำเพียงพอเพื่ออยู่อย่างสบาย ของภิกษุผู้
ปฏิบัติตน.

แม้เมื่อคบคนดี ผู้ยินดีในการเจริญอสุภกรรมฐาน ก็ละกามราคะได้
แม้ในการสนทนาเป็นที่สบายถึงเรื่องอสุภะ 10 ก็ละกามราคะได้. สมดังที่ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิตมีอยู่ การมนสิการโดยแยบคาย การ
ทำให้มาก การเพิ่มกำลัง ในอสุภนิมิตนั้นย่อมเป็นไป เพื่อไม่ให้เกิดกามฉันทะ
ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุปฏิบัติเพื่อละโลภะ
อันได้แก่กามราคะในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้ ขวนขวายวิปัสสนาย่อมตัดโลภะนั้น
ได้ด้วยตติยมรรคโดยไม่มีเหลือ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โลภํ
ภิกฺขเว เอกธฺมมํ ปชหถ อหํ โว ปาฏิใภโค อนาคามิตาย
ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะได้ เราเป็นผู้รับรองพวก
เธอเพื่อความเป็นพระอนาคามี.
ในข้อนี้เกจิอาจารย์กล่าวว่า ก็โลภะที่ละในสูตรนี้เป็นอย่างไร
เป็นโลภะในอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน. อันที่จริง โลภะในสูตร
นี้พึงละไม่ใช่ทั้งอดีต ทั้งอนาคต เพราะยังไม่มีอดีตอนาคตเหล่านั้น ท่าน
กล่าวไว้ว่า ความจริง จิตดับแล้วหรือยังไม่เกิดหามีไม่. อนึ่ง ความพยายามที่ไม่
มีผลย่อมได้รับ. เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องเป็นโลภะปัจจุบันแม้ด้วยประการอย่างนี้
ความพยายามไม่มีผล และมรรคภาวนาเศร้าหมองย่อมได้รับ เพราะความ
พยายามนั้นได้สลายไปเสียแล้ว อีกอย่างหนึ่ง โลภะที่ปราศจากจิตจะพึงมีได้
นัยนี้ท่านไม่ต้องการ. ควรจะกล่าวว่า ความโลภที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
ละได้โดยนัยที่กล่าวแล้ว. เหมือนอย่างว่าต้นไม้อ่อนยังไม่มีผล บุรุษพึงเอา
จอบตัดต้นไม้นั้นที่โคน เมื่อไม่มีการตัดต้นไม้ ผลเหล่าใดพึงเกิด ผลเหล่า

นั้นก็ยังไม่เกิด เพราะต้นไม้ถูกตัด จะพึงเกิดไม่ได้ ฉันใด เมื่อบรรลุอริย-
มรรค ความโลภที่ควรเกิด ย่อมไม่เกิด เพราะถูกกำจัดในปัจจุบันด้วยบรรลุ
อริยมรรค. ความโลภนี้เท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า เกิดเพราะได้ภูมิ. จริงอยู่
เบญจขันธ์อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ เพราะเป็นฐานให้เกิด
ความโลภนั้น. ท่านกล่าวอธิบายความข้อนี้ไว้ว่า ความโลภเกิดเพราะได้ภูมิดัง
ที่จะกล่าวว่า สา ภูมิ เตน ลทฺธา ภูมินั้นอันความโลภได้แล้ว 1
เกิดเพราะยึดถืออารมณ์ 1 เกิดเพราะไม่ข่มไว้ 1 เกิดเพราะไม่ถอน 1.

บทว่า ตตฺถ คือ ในสูตรนั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระ
สูตรหนึ่งโดยผูกเป็นคาถา. ถามว่าใครกล่าว. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ก็ในฐานะเช่นนั้นอื่น ๆ พระสังคีติกาจารย์เป็นผู้ผูกคาถา. แต่ในที่นี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงถือเอาความที่พระองค์ตรัสด้วยอัธยาศัย ของบุคคลผู้ชอบคาถา
จึงตรัสเป็นคาถา.
ในบทคาถานั้นว่า เยน โลเภน ลุทฺธาเส สตฺตา คฺจฉนฺติ
ทุคฺคตึ
สัตว์ทั้งหลายโลภแล้วด้วยความโลภใด ย่อมไปสู่ทุคติ อธิบายว่า สัตว์
ทั้งหลายโลภด้วยความโลภใด อันมีลักษณะเกาะอารมณ์ มีกิจรสเกี่ยวข้องแต่
ความโลภนั้น คือ อยากได้ผูกมัดในอายตนะภายในและภายนอก. บทว่า เส
เป็นเพียงนิบาต. ก็นักคิดอักษรทั้งหลายต้องการลง เส อักษรในฐานะเช่นนี้.
สัตว์ไม่ประพฤติสุจริตไร ๆ ในกายสุจริตเป็นต้นเพราะเป็นผู้โลภอย่างเดียวเท่า
นั้น สะสมกายทุจริตเป็นต้น ได้ชื่อว่า สัตว์ เพราะเป็นผู้ต้องอยู่ในรูปเป็น
ต้น ย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัยอันได้ ชื่อว่า ทุคติ เพราะ
เป็นที่ให้เกิดทุกข์ด้วยการถือปฏิสนธิ.

บทคาถาว่า ตํ โลภํ สมฺมทญฺญาย ปชหนฺติ วิปสฺสิโน ความว่า
ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่งความโลภนั้น ย่อมละเสียได้ อธิบายว่า
ชนชื่อว่า ผู้เห็นแจ้งเพราะเห็นอุปทานขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้นโดยอาการหลายอย่าง
มีความไม่เที่ยงเป็นต้น รู้ความโลภตามที่กล่าวแล้วนั้น โดยชอบ โดย
ชอบเหตุโดยญาณอันไม่วิปริต โดยอาการเหล่านั้น คือ โดยความเป็นจริง โดย
ความเกิด โดยความดับ โดยความชื่นชม โดยความเป็นโทษ โดยความออกไป
คือ รู้ด้วยปัญญา อันได้แก่ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ตีรณปริญญา
(กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ย่อมละกิเลสที่เหลือด้วยมรรคปัญญาอันเป็นส่วน
เบื้องต้นของวิปัสสนาปัญญา ด้วยสมุจเฉทปหาน คือ ไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน
ของตนอีกต่อไป.
บทคาถาว่า ปหาย น ปุนายนฺติ อิมํ โลกํ กุทาจนํ ครั้นละ
ได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ ความว่า ครั้นละโลภะนั้นกับ
กิเลสที่เหลือพร้อมด้วยกิเลสที่สำคัญละได้แล้วยังเหลืออยู่หนึ่ง ด้วยอานาคามิ-
มรรค ย่อมไม่มาสู่โลกอัน ได้แก่กามธาตุนี้ ในภายหลังอีก ด้วยการถือปฏิสนธิ
แม้ในกาลไหน ๆ เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ได้เรียบ
ร้อยแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยอนาคามิผลด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อยมฺปิ อตโถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ
ความด้วยพระสูตรนี้ตั้งแต่สุดนิทานจนถึงจบคาถา. อปิศัพท์เป็นศัพท์ประมวล
ความในพระสูตรที่จะกล่าวอยู่ในบัดนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
สมุทยสัจมาในพระสูตรนี้โดยสรุป. มรรคสัจมาโดยส่วนของปหาน
สองสัจจะนอกนั้นพึงยกออกไป เพราะทั้งสองสัจจะนั้นเป็นเหตุ. ทุกขสัจ

สมุทยสัจ มรรคสัจ ย่อมชัดตามที่กล่าวแล้วในคาถานั่นแล. สัจจะนอกนั้น
ยกออกไป. ในสูตรแม้อื่นจากนี้ก็มีนัยนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1 แห่งการพรรณนาอิติวุตตกะ อรรถกถาขุททก-
นิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี.
จบอรรถกถาโลภสูตรที่ 1

2. โทสสูตร


ว่าด้วยละโทสะได้เป็นพระอนาคามี


[180] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้
รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดู-
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโทสะได้ เราเป็นผู้
รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสดาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง
โทสะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประทุษร้ายไปสู่
ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้วย่อมไม่มา
สู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.